วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค

 
ห้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)
 
1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ
ตอบ   รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองแผ่นดินหรือรัฐ หรือ กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ
พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ซึ่งมีเนื้อหาเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งเฉพาะเจาะจงต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่ง ซึ่งบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่รัฐได้ตราขึ้นไว้เป็นข้อบังคับกำหนดความประพฤติบุคคล ซึ่งตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติอันได้แก่ รัฐสภา พระราชบัญญัติจึงเป็นกฎหมายโดยแท
พระราชกำหนด หมายถึง กฎหมายรูปแบบหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญวางไว้ว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
พระราชกฤษฎีกา หมายถึง  บัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
เทศบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พศ. 2496
2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศปัจจุบันเป็นอย่างไร  ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ   ปัจจุบันประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญใช้บังคับและถือเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นับแต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นต้นมา รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรีและทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ สร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม แก้ไขข้อขัดแย้งในสังคม หากไม่มีรัฐธรรมนูญ บ้านเมืองคงเกิดความวุ่นวาย ไม่สงบสุข มีการเอารัดเอาเปรียบ แช่งดีชิงเด่น แย่งอำนาจ ใช้อำนาจในทางที่ผิด  และบุคคลจะทำสิ่งใดก็ทำตามอำเภอใจ ไม่นึกถึงคนอื่น คิดแต่ประโยชน์ส่วนตนกันเป็นส่วนมาก รัฐธรรมนูญจึงเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลยึดถือ และทำสิ่งที่ตั้งอยู่ในความถูกต้องตามกฏระเบียบ
3. ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ  การแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรานี้มีข้อโต้แย้งกันหลายฝ่าย ทั้งประชาชนและนักวิชาการที่ต้องการแก้ไขว่าด้วยเรื่อง องค์พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องในทางใดๆมิได้ ในความเห็นดิฉันไม่ควรแก้ไขเพราะว่าเป็นกฏหมายที่ป้องกันพระมหากษัตรย์ ขนาดมีมาตรา 112 นักการเมืองบางพรรคยังหมิ่นพระเจ้าอยู่หัวกันไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งประเด็นนี้เป็นข้อโต้แย้งกันหลายฝ่าย มีการต่อต้านไม่ต้องการให้แก้ไขเพราะคนไทยส่วนใหญ่เทิดทูน และรักพระมหากษัตริย์
4. กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง มองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดิน  แดน
ตอบ   คิดว่าปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ยิ่งเพราะเป็นปัญหาที่ต้องขึ้นศาลโลก เป็นเรื่องของผลประโยชน์ ทรัพย์สมบัติของชาติ ซึ่งแต่ละชาติก็อยากทวงสิทธิ์ของตนที่ควรจะได้ แต่ดินแดนแห่งนี้ ซึ่งเป็นบริเวณรอบปราสาทรพระวิหารในเขตพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ก็ยังตกลงเขตแดนที่แน่ชัดไม่ได้สักที และกัมพูชาต้องการจะเพลี่ยงพล้ำมาในเขตดินแดนไทย ในการที่จะให้ดินแดนนี้เป็นของไทย สามารถปกป้องและมีโอกาศที่จะได้มันโดยไม่เสียดินแดนนี้ไปมีสูง แต่ไทยต้องพยายามดำเนินการทวงสิทธิ์ไปตามขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป สู้จนถึงที่สุด ยกหาเหตุผลและหลักฐานทุกอย่างที่พิสูจน์ได้มาทวงสิทธิ์ อย่าได้ยอมแพ้เพื่อทรัพย์สมบัติของชาติ
5. พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วย กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
 ตอบ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะ พูดได้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่างขึ้นมาโดยใช้รัฐธรรมนูญการศึกษาซึ่ง เป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษาขึ้นมา  ประกาศใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่รัฐได้ตราขึ้นไว้เป็นข้อบังคับกำหนดความประพฤติบุคคลให้ทำในสิ่งที่ถูกต้องสมควร กฎระเบียบต่างๆ หากกระทำผิดก็จะได้พิจารณาไปตามกฎหมายเช่นเดียวกัน
6. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย  การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา
ตอบ   การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
                การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
                การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
                สถานศึกษา  หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
               สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
               มาตรฐานการศึกษา  หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา
               การประกันคุณภาพภายใน  หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
               การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก   โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
              ผู้สอน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
              ครู หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาของทั้งของรัฐและเอกชน
             คณาจารย์  หมายความว่า   บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
             ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
            ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
            บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
7. ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบ   ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษา คิดว่า ในการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขเป็นเป้าหมายของการจัดการศึกษาจึงอยู่ที่คนไทยโดยทั่วไป ซึ่งต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดี มีประโยชน์ มีความครบถ้วนทุกด้าน
หลักการจัดการในการจัดการศึกษา
 หลักสำคัญในการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (ตามมาตรา 8) กำหนดไว้ 3 ประการ คือการศึกษาตลอดชีวิต การมีส่วนร่วม และการพัฒนาต่อเนื่อง ดังนี้
 1.   การศึกษาตลอดชีวิต  เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน นั่นคือคนทุกคนต้องได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การศึกษานี้ต้องครอบคลุมทุกด้าน มิใช่เฉพาะชีวิตการงานเท่านั้น เพราะบุคคลต้องพัฒนาตนเองและความสามารถในการประกอบอาชีพของตน
 2.   การมีส่วนร่วม สังคมต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เช่น ร่วมเป็นกรรมการ ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษา ร่วมสนับสนุนทรัพยากร ร่วมติดตามประเมิน ส่งเสริมให้กำลังใจและปกป้องผู้ปฏิบัติงานที่มุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม
 3.   การพัฒนาต่อเนื่อง การจัดการศึกษาต้องให้ความสำคัญ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั้นมีทั้งการค้นคิดสาระและกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ การประยุกต์ปรับปรุงเนื้อหาสาระที่มีอยู่ และการติดตามเรียนรู้เนื้อหาสาระที่มีผู้ประดิษฐ์คิดค้น
8. มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำ กรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ มีวิธีการทำอย่างไร

ตอบ   ไม่ถือว่าทำผิดกฎหมาย แต่จะอยู่ในฐานะครูอัตราจ้างที่ได้ทำหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือเช่นเดียวกัน และยังคงให้ทำหน้าที่สอนหนังสือต่อไปโดยไม่ต้องลงโทษอะไร เพราะ ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ.ศ.2546 ได้กำหนดไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  1. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
  2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
  3. นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
  4. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
  5. ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
  6.   คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน  
 7. ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา   
 8. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนดซึ่งผู้ที่เข้าไปสอนอาจจะกระทำในกรณีใดกรณีหนึ่งซึ่งถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งก็ไม่ต้องแก้ไขอะไร แต่หากว่าอยากจะเข้าไปสอนในสถานศึกษาเป็นกรณีประจำก็ควรจะไปสอบบรรจุให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง

 9. หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
             ตอบ   1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2547
                       2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
                       3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
                       4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
10. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะ  และเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ  ในการเรียนวิชา กฎหมายการศึกษา เป็นประโยชน์มากต่อนักเรียนซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนผู้ซึ่งจะเป็นครูในอนาคต เพราะเป็นหลักสำคัญในหน้าที่ของครูที่จะต้องยึดปฏิบัติตาม และเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อและการสอบบรรจุต่างๆ ซึ่งสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวิชานี้คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และบทกฎหมายต่างๆที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นประชาชนและทางการศึกษา
 ในการใช้สื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Webblog มีความเหมาะมาก เพราะการเรียนรู้กี่ยวกับกฎหมายมีเนื้อหารายละเอียดมาก หากใช้หนังสือ แล้วให้นักเรียนอ่านเองในหนังสือ มันคงทำให้นักเรียนรู้สึกเบื่อ  หรือชีทถ่ายเอกสารให้นักเรียนอ่าน คงมีชีทเยอะมาก เห็นแล้วมันอาจจะทำนักเรียนคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ คงเกิดคำถามขึ้นในใจว่าทำไมมันยากจัง การใช้สื่อคอมพิวเตอร์ Webblog จึงทำให้นักเรียนรู้สึกเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ ไม่เบื่อกับการเรียนการสอน มีอิสระในการเรียนและมีความสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นได้ พูดได้ว่าแป็นความคิดที่ดี และมีความทันสมัย ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และถ้าให้คะแนนตัวเองกับการเรียนวิชานี้ คิดว่า ควรได้เกรด เอ เพราะว่า ตั้งใจเรียนวิชานี้ ไม่ขาดเรียน และรีบทำงานที่ครูได้มอบหมายให้เสร็จโดยเร็วด้วยตนเอง ด้วยความพยายาม และความรับผิดชอบ

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 9


           ให้นักศึกษาอ่านระเบียบต่างๆของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อนักศึกษาอ่านระเบียบแล้วให้สรุปประเด็นที่สำคัญ เช่น ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องอะไร ประกาศใช้เมื่อใด ใครเป็นผู้ลงนามในระเบียบนั้น เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ที่จะต้องนำไปปฏิบัติคือประเด็นใด โดยสรุปตามหัวข้อระเบียบที่กำหนดไว้ ดังหัวข้อดังต่อไปนี้ (31 ตัวระเบียบ ลงในบล็อกของนักศึกษา)

1. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณและอนุโมทนา พ.ศ. 2547
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณและอนุโมทนา
                    ประกาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
                    ผู้ลงนามในระเบียบในระเบียบนี้ คือ นายอดิศัย โพธารามิก ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

                   เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ

                  ในการบริจาคทรัพย์สิน ให้คำนวณเป็นราคาเงินตามท้องตลาดของทรัพย์สินและหากทรัพย์สินที่บริจาคเป็นที่ดินหรือราคาที่เจ้าพนักงานที่รับรองตามราคาประเมินทุนทรัพย์ และหากเป็นการบริจาคแรงงาน ให้คำนวณเป็นราคาอัตราจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัด ตามกฎหมายคุ้มครองที่แรงงานกำหนดไว้

2. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และะการให้ข่าวสาร พ.ศ.2548
            ตอบ    กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และะการให้ข่าวสาร
                       ประกาศเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2548
                       ผู้ลงนามในระเบียบในระเบียบนี้ คือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

        เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ

                      ในการประชาสัมพันธ์หรือการให้ข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติงานประจำของกระทรวงศึกษาธิการ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้ประชาสัมพันธ์หรือให้ข่าวราชการ หากเป็นการประชาสัมพันธ์หรือการให้ข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติงานประจำของส่วนราช ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ประชาสัมพันธ์

 3. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550  
              ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้งรวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550     
                         ประกาศใช้วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550
                         ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ นายวิจิตร ศรีสอ้าน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ

                        เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
                        การจัดตั้งสถานศึกษา เมื่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาจะพิจารณาจัดตั้งสถานศึกษาใหม่แล้ว  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะประกาศจัดตั้งสถานศึกษา จัดระบบส่งเสริม สนับสนุน และให้สถานพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ในการรวมสถานศึกษา คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณารวมสถานศึกษาตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทำการตรวจสอบข้อมูล จัดทำแผนการรวมสถานศึกษาและนำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และในการเลิกสถานศึกษาคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณารวมสถานศึกษาเลิกสถานศึกษา

 4. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ พ.ศ.2548
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ
                    ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548
                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้  คือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นผู้ลงนามในระเบียบนี้ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

    เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
                   ผู้กำกับการสอบต้องปฏิบัติตามระเบียบแผนการสอบ โดยต้องไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลา เริ่มสอบตามสมควร กำกับการสอบให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่อธิบายคำถามใดๆในข้อสอบให้แก่ผู้เข้าสอบไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนผู้เข้าสอบ รวมทั้งไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับการสอบไม่สมบูรณ์ ต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยตามส่วนราชการ หรือสถานศึกษากำหนด หากผู้กำกับการสอบทำการใด ประมาท เลินเล่อ หรือจงใจ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ถือว่าผิดวินัยร้ายแรง

 5. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 
                    ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 

                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้  อดิศัย โพธารามิก ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

                         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
   การลงโทษนักเรียนต้องไปตามเจตนาเพื่อแก้นิสัยและปรับความประพฤติที่ไม่ดี ไม่ลงด้วยวิธีที่รุนแรง กลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธและความพยาบาท ผู้ที่มีอำนาจลงโทษนักเรียนและนักศึกษาตามที่ได้รับมอบหมาย สามารถตักเตือน ทำทัณฑ์บน ตัดคะแนนความประพฤติ ทำกิจกรรมให้เพื่อปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการลงโทษเหล่านี้ต้องเป็นไปตามกฎกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา

6. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของสถานศึกษา
                    ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้ นายอดิศัย โพธารามิก ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

                    เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ

    สถานศึกษาเริ่มทำงานเวลา 8.00 - 14.30 . หยุดกลางวันเวลา 12.00-13.00 .  เป็นเวลาทำงานปกติ ส่วนวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ คือ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ แต่สถานศึกษาสามารถกำหนดกำหนดเวลาเริ่มทำงานหรือวันหยุดราชการนอกเหนือจากนี้ได้ และรายงานส่วนราชการให้ทราบ ซึ่งต้องมีเวลาทำงานสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 35 ชั่วโมง

7. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547
           ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา
                    ประกาศใช้เมื่อวัน ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ นายอดิศัย โพธารามิก  ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

                   เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ

                   การกำหนดชื่อสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้องไม่ขัดกับกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการและไม่เป็นชื่อพระนามของพระมหากษัตริย์หรือพระราชินี หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เว้นแต่ได้รับพระราชทาน หรือสมเด็จพระสังฆราชประทานให้ และให้ใช้คำว่า โรงเรียน’’  เป็นคำขึ้นต้นและต่อท้ายด้วยชื่อจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน วัด ชื่อบุคคลผู้ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์หรือสถานที่อื่นใดแล้วแต่กรณี และต้องตั้งชื่อเป็นภาษาไทย ไม่ยาวจนเกินไปและไม่ซ้ำกับชื่อสถานศึกษาอื่น

  8. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ.2549
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา             
       ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549
      ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ  คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา  ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

      เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
                      การตั้งชื่ออาคารของสถานศึกษาสามารถตั้งได้ตามความประสงค์ของผู้บริจาค และในการตั้งชื่อห้อง จะจารึกชื่อไว้ที่ห้องได้ตามความประสงค์ของผู้บริจาค เช่นเดียวกับการจารึกชื่อที่อุปกรณ์ที่มีผู้จาคผู้เดียวตามความประสงค์  นอกจากนี้หากเป็นยกย่องบุคคลผู้มีคุณความดีเกี่ยวกับสถานศึกษาหรือท้องถิ่น แม้ไม่ได้บริจาคทรัพย์ให้สร้างอาคาร หากสถานศึกษาเห็นสมควร และประชาชนสนับสนุนการจารึกชื่อผู้นั้นไว้ที่อาคาร จะให้อยู่ในดุลพินิจของส่วนราชการต้นสังกัดหรือส่วนราชการที่ต้นสังกัดมอบหมาย

9. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2547
           ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและ
       ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
       ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ นายอดิศัย โพธารามิก ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

      เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
     ในการแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษา ในกรณีที่ผิดพลาดไม่ตรงกับความเป็นจริงด้วยเหตุที่เจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาเขียนผิดพลาดหรือเขียน ตกให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไขให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงในหลักฐาน และการแก้ไขตกเติมให้ขีดฆ่าด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยประณีตแล้วเขียนเติมลงใหม่ด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยลงนามผู้แก้ และวัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง และหากมีผู้ร้องขอให้แก้ผู้ร้องจะต้องส่งคำร้องตาม และเอกสารหลักฐานตามที่กำหนด มาแสดงต่อสถานศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย วัน เดือน ปีเกิด

 10. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
                    ประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ นายปองพล อดิเรกสาร ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

    เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
    สถานศึกษามีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่เพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และในกิจการทั่วไปของสถานศึกษาที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา ทั้งนี้ สถานศึกษามีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุง รักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์ทรัพย์ที่มีผู้อุทิศให้แก่สถานศึกษา ในกรณีนิติบุคคลในสถานศึกษาถูกฟ้อง ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐานทราบ

11. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2548
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา
                     ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548
                     ผู้ลงนามในระเบียบนี้  คือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

     เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
                    การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา ต้องได้รับอนุญาติก่อนและเป็นไปตามควมสมัครใจของนักเรียนเพื่อไปทำกิจกรรมการเรียนการสอนหรือทัศนศึกษา ผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมจะต้องมีครูผู้ช่วยควบคุมดูแลในการเดินทางโดยครู 1 คน ต่อนักเรียนนักศึกษาไม่เกิน 30 คน และดูแลให้นักเรียนและนักศึกษาอยู่ในระเบียบวินัย เป็นไปอย่างเรียบร้อยและปลอดภัย เลือกยานพาหะนะที่มีสภาพมั่นคงปลอดภัยรวมถึงจัดให้มีป้ายแสดงข้อความให้เห็นว่ายานพาหะนะนั้นบรรทุกนักเรียนและนักศึกษา และเมื่อพานักเรียนกลับมาจากการพาไปนอกสถานศึกษาแล้ว ให้รายงานให้ผู้สั่งอนุญาติทราบ

12.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและอบรมภายในประเทศ (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2547

          ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและอบรมภายในประเทศ (ฉบับที่ 2)
                    ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ นายอดิศัย โพธารามิก  ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

    เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
                   ข้าราชการที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศ ต้องมีอายุไม่เกิน 45 ปีบริบูรณ์ หากข้าราชการถูกลงโทษตัดเงินเดือน จะไปศึกษาต่อได้เมื่อพ้นโทษตัดเงินเดือนแล้ว หรือถูกลดขั้นเงินเดือนมาแล้วไม่น้อยกว่าเงินเดือน ส่วนข้าราชการที่อยู่ในระหว่างศึกษาต่อภายในประเทศภาคปกติ ไม่สามารถสมัครหรือสอบคัดเลือกที่อื่นได้ข้าราชการที่จะศึกษาต่อ ต้องได้รับอนุญาติจากอธิการบดีกรมสังกัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายและไปสมัครสอบคัดเลือก ณ สถานศึกษาและสาขาที่กรมสังกัดกำหนดไว้ หากได้รับการอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ ต้องศึกษาให้สำเร็จตมกำหนดตามเวลา ถ้าไม่สามารถศึกษาทันตามกำหนดและมีความประสงค์ขยายเวลาศึกษาต่อ ให้ยื่นคำร้องต่อกรมเจ้าสังกัดก่อนวันสิ้นสุดของสัญญา ไม่น้อยกว่ 15 วัน พร้อมด้วยความเห็นของสถานศึกษา และระเบียบการลงทะเบียน

13.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา พ.ศ.2548
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา
                     ประกาศเมื่อใช้วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548
                     ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

      เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ  
       การจัดกิจกรรมสหกรณ์ขึ้นในสถานศึกษา ให้มีครูอาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ในสถานศึกษาเป็นสมาชิกสหกรณ์ในสถานศึกษา จัดทำบัญชีตามวิธีของสหกรณ์และออกข้อบังคับต่างๆ ในการเริ่มและเลิกสหกรณ์จะต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่าตนทราบ รวมถึงรายงานผลดำเนินการและงบดุลหลังการประชุมใหญ่ประจำปี

14.หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ พ.ศ.2550
          ตอบ   หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ
                    ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550
                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ มีนายอุทิศ ธรรมวาทิน ซึ่งเป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง

                   เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ

                        ผู้ที่มีอำนาจจัดที่พักของแต่ละส่วนราชการ จะจัดที่พักให้แก่ราชการผู้ที่มีตำแหน่งระดับ 7 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า ข้าราชการตำแหน่งระดับ ผู้นั้นจะต้องพักอาศัยไม่ว่าจะเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับค่เช่าบ้ารหรือไม่ กรณีที่ที่พักทางราชการไม่เพียงพอต่อผู้มีสิทธิ์เบิกค่าเช่าบ้าน จะจัดให้เข้าพักอาศัยที่พักของราชการแทนผู้ไม่มีสิทธิ์เบิกค่าเช่าบ้านซึ่งได้พักอยู่ก่อนแล้ว หากมีสิทธิ์เบิกค่าเช่าบ้านสามารถนำสิทธิ์ค่าเช่าบ้านมาเบิกจากมางราชการได้ในช่วงเวลาที่ไม่สามารถเข้าพักได้ และข้าราชการที่เคยสละสิทธิ์ค่าเช่าบ้าน ซึ่งสละสิทธิ์เข้าพักอาศัย หากร้องมีสิทธ์ขอเข้าอาศัยที่พักที่ว่างลง

15. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้น
                    ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550                
                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ นายวิจิตร ศรีสอ้าน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

    เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
    การขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา ซึ่งสถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับดี สถานศึกษาต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนมีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ไม่น้อยกว่า 40 คน ต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ  ในการดำเนินการขยายชั้นเรียนต้องจัดทำแผนและเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบพร้อมเอกสาร ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก่อนเปิดภาคเรียนที่หนึ่งของปีการศึกษา ไม่น้อยกว่า 180 วันและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะพิจารณาการขยายชั้นเรียนต่อไป

16.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
           ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้งรวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
                     ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550
                     ผู้ลงนามในระเบียบนี้ นายวิจิตร ศรีสอ้าน  ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

     เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
                    การจัดตั้งสถานศึกษาคณะกรรมการเขตพื้นการศึกษาที่จะพิจารณาจัดตั้งสถานศึกษาใหม่ และกลั่นกรองคำร้องตามหลักเกณฑ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และนำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพิจารณาอนุญาติ เมื่ออนุญาติแล้ว จึงดำเนินการประกาศจัดตั้งสถานศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุน ในการรวมสถานศึกษาคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาจะพิจารณาตั้งแต่สองแห่งขึ้นไป ซึ่งจะทำการตรวขสอบข้อมูล จัดทำแผน และนำเสนอสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เมื่อพิจารณาเห็นชอบแล้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะประกาศรวมสถานศึกษา และในการเลิกสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก็จะเป็นผู้พิจารณา คณะ กรรมการจะรับฟังความคิดเห็นจากผู้ปกครอง นักเรียนชุมชน และแจ้งผู้ปกครองให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ก่อนวันเปิดภาคเรียนวันแรก เมื่อเลิกสถานศึกษาแล้วจะต้องจัดนักเรียนให้ได้เข้าเรียนทุกคน

17.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
                    ประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548              
                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ มีนายอดิศัย โพธารามิก ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

    เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
 
                          เจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการเพื่อส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา  ในการสอบถามครู อาจารย์ เกี่ยวกับความประพฤติ การศึกษา นิสัยและสติปัญญาของนักเรียน หากนักศึกษาฝ่าฝืนระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษา จะ เรียกให้ผู้ปกครอง ครู อาจารย์  กำลังศึกษาอยู่มารับตัวนักเรียนหรือนักศึกษา เพื่อว่ากล่าว อบรม สั่งสอนต่อไป และให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในเรื่องการอบรมและสั่งสอนนักเรียนหรือนักศึกษา เพื่อดูแลมิให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนกฎระเบียบของโรงเรียนอีก นอกจากนี้ยังประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นเพื่อช่วยกรกำกับดูแลนักเรียน

 18.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551
           ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง เครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551
                    ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551
                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ  นายศรีเมือง เจริญศิริ  ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

    เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
                  ให้สถานเห็นชอบของคณะกรรมการสถาบันศึกษาเป็นผู้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการแต่งกายและเงื่อนไขการแต่งกายเครื่องแบบนักเรียน และหากสถานศึกษาใดมีความประสงค์จะขอใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กำหนดในระเบียบ ให้ขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งหรือผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้นแล้วแต่กรณี และในกรณีมีเหตุจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษให้สถานศึกษาพิจารณายกเว้นหรือผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียนได้ตามความเหมาะสม  ส่วนนักเรียนที่ศึกษานอกระบบและตามอัธยศัยให้แต่งกายสุภาพ ถ้านักเรียนแต่กายผิดระเบียบจะลงโทษทางวินัยตามระเบียบตามความเหมาะสม

19.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548             
           ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง หลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา
                    ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2548
                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ  นายจาตุรนต์  ฉายแสง ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

                   เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ

                  สถานศึกษามีหน้าที่ในการจะรับเด็กที่อยู่ในวัยการศึกษาเข้าเรียนตามกฎหมายและในกรณีเด็กย้ายที่อยู่ใหม่ สถานศึกษาต้องก็อำนวยความสะดวก และติดตามให้เด็กได้เข้าเรียน หากรับนักเรียนที่ไม่เคยเข้าเรียนในสถานศึกษามาก่อน ให้สถานศึกษาเรียกหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา

20. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
                    ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549
                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ  คุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

     เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
    ให้สถานศึกษาเปิดภาคเรียนภาคเรียนที่ 1 เปิดเรียนวันที่ 16 พฤษภาคม และปิดวันที่ 11 ตุลาคม ในปีเดียวกัน  ในภาคเรียนที่ 2ให้  เปิดภาคเรียนวันที่ 1 พฤศจิกายน และปิดวันที่ 1 เมษายน ในปีถัดไป ในกรณีที่ปิดภาคเรียนแตกต่างไปจากนี้ส่วนราชการจะเป็นผู้กำหนดตามสมควร และการสั่งปิดสถานศึกษากรณีพิเศษหัวหน้าสถานศึกษาสั่งปิดได้ไม่เกิน 7 วัน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่สั่งปิดได้ไม่เกิน 15 วัน และต้องมีการสอนชดเชยภายหลังตามจำนวนวันที่ปิด  หากเป็นการปิดสถานศึกษาชั่วคราว เพื่อระงับเหตุหรือภัยอันตราย จะต้องมีการสอนชดเชยเช่นเดียวกัน เมื่อสั่งปิดไปแล้ว เหตุการณ์ยังไม่สงบหรือมีเหตุจำเป็นต้องสั่งปิดต่อให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณา และในช่วงที่มีการปิดสถานศึกษาชั่วคราว ครู หรือเจ้าหน้าที่ประจำสถานศึกษานั้นจะมาปฏิบัติงานตามปกติก็ได้

 21.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550
           ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินตอบแทน การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ   พ.ศ. 2536 ให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้น ผลสัมฤทธิ์ และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
                        ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2550
                        ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ  นายปรีดิยาธร เทวกุล  ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง             

        เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
        การปฏิบัติงานเวลานอกเวลาราชการต้องได้รับการอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของบประมาณ โดยพิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็นต้องอยู่ปฏิบัติงานในครั้งนั้นๆ และข้าราชการจะได้รับค่าตอบแทนกรณีได้รับคำสั่งเดินทางไปราชการเฉพะเวลานอกราชการซึ่ง จะต้องได้รับอนุมัติให้ไปปฏิบัติงานก่อนการเดินทางและมาเบิกเงินค่าตอบแทนได้ ซึ่งมีสิทธิ์เบิกค่าตอบแทนได้ไม่เกินวันละเจ็ดชั่วโมง ชั่วโมงละห้าสิบบาท ถ้าเป็วันหยุดเบิกค่าตอบแทนได้ไม่เกินวันละเจ็ดชั่วโมง ชั่วโมงละหกสิบบาท

22.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสมุดหมายเหตุรายวัน พ.ศ.2549
          ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง สมุดหมายเหตุรายวัน  พ.ศ.2549  
                     ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549
                     ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ  คุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ                                                                                                                                       

   เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
  สถานต้องรักษาสมุดรายวันไม่ให้สูญหาย ฉีกขาด รวมถึง เขียนชื่อสถานศึกษาและลงรายการต่างๆที่หน้าปก หมายเหตุรายวันให้บริบูรณ์ไม่ตัดต่อ และใบหน้าต้องลงวัน เดือน ปี  ปีที่เริ่มใช้สมุดเหตุรายวันเป็นตัวอักษร และต้องมีเลขหน้าทุกหน้าห้ามมิให้แทรกหรือฉีกออก ห้ามมิให้เว้นที่ว่างไว้ และให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้ได้รับหมอบหมายลงชื่อกำกับ ในการลงสมุดรายวันต้องลงด้วยเส้นหมึกสีดำหรือสีน้ำเงิน ถ้าผิดที่ใดห้ามขูดขีดลบเพิ่มเติม แต่ให้ขีดฆ่าด้วยเส้นสีแดง และเขียนใหม่ด้วยหมึกสีแดงเช่นกัน แล้วต้องลงชื่อ วัน เดือน ปี กำกับไว้ที่ริมกระดาษทุกแห่ง โดยมีหัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้จดข้อความในสมุดหมายเหตุรายวัน

23. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ พ.ศ.2538
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ  
                     ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2538
                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ  นายสุขวิช  รังสิตพล  ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

                   เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ

                      ข้าราชการที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศภาคปกติ ต้องมีอายุไม่เกิน 45 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันที 15 มิถุนายน ของปีที่จะเข้ารับการศึกษา หากถูกลงโทษตัดเงินเดือนจะไปศึกษาต่อไม่ได้วันแต่พ้นโทษแล้วหรือถูกลดขั้นเงินเดือนมาแล้วหกเดือน ซึ่งถ้าอยู่ในช่วงลาศึกษาต่อก็จะไม่สามารถสมัครสอบหรือสอบคัดเลือกได้เช่นกัน ส่วนข้าราชการที่ศึกษาต่อภาคนอกเวลา ต้องมีอายุไม่เกิน 55 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันที 15 มิถุนายน ของปีที่จะเข้ารับการศึกษา เมื่อสอบคัดเลือกศึกษาต่อได้แล้วถ้าจะศึกษาต่อเพื่อต้องค้นคว้าทำวิทยานิพนธ์ให้ขออนุญาตตามระเบียบว่าด้วยการลา และในการศึกษาต่อภาคฤดูร้อน วิชาที่จะไปศึกษาต่อต้องเป็นประโยชน์ต่อหน้าที่ ในกรอนุญาตจะพิจารณาเป็นปีๆไป และเมื่อจบการศึกษาแล้ว ต้องมารับราชการต่อไปตามแผนหรือโครงกรที่ราชการได้กำหนด

24.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ (ฉบับที่2)พ.ศ.2547
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อและฝึกอบรมภายในประเทศ     (ฉบับที่2) พ.ศ.2547
                     ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2547
                     ผู้ลงนามในระเบียบี้ คือ นายอดิศัย  โพธารามิก ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ                                                                                                                                        

       เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
      ข้าราชการที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต้องมีอายุไม่เกิน 45 ปีบริบูรณ์นับถึงเริ่มตันเปิดภาคปีการศึกษาที่จะเข้ารับการศึกษา ไม่อยู่ระหว่างถูกลงโทษทางวินัยเว้นแต่ภาคโทษทัณฑ์ และถ้าหากถูกลดตัดเงินเดือนต้องพ้นโทษแล้วหรือถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน ซึ่งถ้าอยู่ในระหว่างศึกษาต่อภายในประเทศภาคปกติจะสมัครสอบคัดเลือกเพื่อไปศึกษาต่อที่อื่นมิได้ ทั้งนี้ต้องศึกษาให้เสร็จตามกำหนดเวลในหลักสูตร ถ้าไม่สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด สมารถร้องขอขยายเวลาศึกษาต่อได้ โดยให้ยื่นคำร้องต่อกรมเจ้าสังกัดไม่น้อยกว่า 15 วัน แต่ถ้าศึกษาอยู่ต่อไปและไม่สามารถศึกษาต่อให้จบหลักสูตรได้ ให้กรมเจ้าสังกัดเรียกตัวกลับเข้าปฏิบัติรับราชการต่อไป

25.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษา และหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา               พ.ศ. 2547
         ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ใบสุทธิของสถานศึกษาและหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547
                    ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ นายอดิศัย  โพธารามิก ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ                                                                                                                                 

     เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
     การออกหนังสือรับรองความรู้ สถานศึกษาจะออกได้เฉพาะในกรณีที่สถานศึกษาไม่สามารถออกใบสุทธิให้หรือสำเนาต้นขั้วใบสุทธิให้ได้เท่านั้น  ซึ่งอาจมีเหตุจากต้นขั้วใบสุทธิสูญหายหรือไม่ปรากฏหลักฐานการออกใบสุทธิ  หรือไม่ปรากฏหลักฐานอื่นใด  ในกรณีที่หลักฐานจบการศึกษา หลักฐานแสดงผลการเรียน หรือหลักฐานอื่นๆสูญหาย สถานศึกษาต้องไต่สวนพยายหลักฐานเสนอหน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษา จนกระทั่งได้หลักฐานเพียงพอว่าบุคคลนั้นจบการศึกษาจริง  แล้วรายงานผลการไต่สวนให้หน่วยงานต้นสังกัดเหนืออีกชั้นหนึ่งพิจารณาว่าเห็นควรให้ออกหนังสือรับรองความรู้ให้หรือไม่  หากเห็นว่าหลักฐานเชื่อถือได้  ก็จะอนุญาตให้สถานศึกษาออกหนังสือรับรองความรู้ให้  และสถานศึกษาจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบสุทธิได้ไม่เกินฉบับละ100บาท

26.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ พ.ศ.2547
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง สถาบันศึกษาปอเนอะ พ.ศ.2547
                     ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547
                     ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ นายอดิศัย โพธารามิก ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

                     เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ

     ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นนายทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนอะจังหวัด ทำหน้าที่จดทะเบียนสถาบันปอเนอะและมีหน้าที่ส่งเสริม กำกับ และสนับสนุนสถานศึกษาปอเนอะที่ได้จดทะเบียนแล้ว  ส่วนสำนักงานที่เป็นสำนักงานทะเบียนกลางสถาบันปอเนาะ รวบรวมข้อมูลสถาบันปอเนาะทุกจังหวัด สถานที่และที่ตั้งจะต้องมีควมเหมาะสม แก่การสอนและ ปลอดภัย นอกจากนี้โต๊ะครูจะต้องมีสัญชาติไทย และมีความรู้ไม่ต่ำกว่าหลักสูตรการศึกภาคบังคับในช่วงชั้นปีที่จบการศึกษา และมีควมรู้ศสนอิสลามเป็นอย่างดี

27.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ (ฉบับที่2) พ.ศ.2548
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง สถาบันศึกษาปอเนอะ ด้วยกระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ. 2547 ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริง
                      ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2548                
                     ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ นายจาตุรนต์  ฉายแสง ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ                                                                                                                                        

      เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
     ผู้เรียนในสถาบันปอเนาะเป็นเด็กที่เข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับ โต๊ะครูและผู้ปกครองต้องจัดให้เด็กได้เข้าเรียนจนจบภาคศึกษาภาคบังคับหรือมีโอกาสศึกษาวิชาสามัญในระดับที่สูงขึ้น

28.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาตการอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการ ดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
                     ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2546
                    ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ นายไพฑูรย์ จัยสิน ซึ่งเป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการ

     เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
     การมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทน ให้คำนึงถึงความเป็นอิสระ  การบริหารงานที่คล่องตัวในการจัดการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมอื่นๆ ของผู้รับมอบอำนาจเพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ ในระยะเริ่มแรกที่มีการกำหนดตำแหน่งอัตรา หรือแต่งตั้งข้าราชการดำรงตำแหน่งตามโครงสร้างใหม่ ซึ่งผู้อำนวยอาจมอบอำนจ

29.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยหลักเกณฑ์ การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ พ.ศ.2551
               ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง หลักเกณฑ์  การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ

                       ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยาซึ่งเป็น เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
       เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
      ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาผู้ซึ่งรับอำนาจ ใช้อำนาจในการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแลรายงานผลในการใช้อำนาจ  จะมีหน้าอำนวยควมสะดวกในการตรวจราชการ หรือความประสงค์ของสำนักงานที่มีภารกิจด้านการตรวจสอบแลละประเมินผล ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจในการสั่งการ การอนุญาต และการอนุมัติการปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

30.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549
           ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549 โดยที่ให้เป้นสมควรตามระเบียบการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
                     ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
                     ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ นางพรนิภา  ลิมปพยอม ซึ่งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

     เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ
     สถานศึกษาต้องออกใบเสร็จรับเงินตามแบบที่ราชการกำหนดให้แก่ให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้งที่มีการรับเงิน เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้ ให้ใช้หลักฐานการรับเงินตามแบบที่ทางราชการกำหนดและต้องควบคุมใบเสร็จและหลักฐานการเก็บเงินไว้เพื่อตรวจสอบได้ และให้สถานศึกษาเก็บเงินสดไว้เพื่อสำรองจ่ายในวงเงินที่ทางคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ห้ามมิให้นำเงินรายได้สถานศึกษาไปเป็นค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาแห่งอื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำนาจการอนุมัติการจ่ายเงินและการก่อหนี้เงินผูกพันรายได้สถานศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

 31.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2551
          ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา โดยเห็นเป็นการสมควรในการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้เป็นไปในทางเดียวกัน
                     ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
                     ผู้ลงนามในระเบียบนี้ คือ คุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา ซึ่งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

     เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบ

                    การปกครอง ดูแล บำรุงรักษาและใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือมีการจัดซื้อจากรายได้ของสถานศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษารับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนามสถานศึกษา เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และเก็บรักษาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินไว้ในที่ปลอดภัยไม่ให้สูญหาย และสถานศึกษาจัดทำทะเบียนรับและจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่สถานศึกษาไว้เป็นหลักฐาน การรื้อและจำหน่ายอาคาร สิ่งปลูกสร้าง อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การปกครอง ดูแล บำรุงรักษาและใช้ที่ราชพัสดุให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่ราชพัสดุที่เกี่ยวข้อง