ให้นักศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
หมวด ๒พระมหากษัตริย์
มาตรา ๘
องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ
ผู้ใดจะละเมิดมิได้ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้
มาตรา ๙ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ
และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ ๑ บททั่วไป
มาตรา ๒๗
สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง
โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล
รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย
การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง
ส่วนที่ ๒ ความเสมอภาค
มาตรา ๓๐
บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด
เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล
ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม
หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
ส่วนที่ ๘ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา ๔๙
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้
ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก
ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
ส่วนที่ ๑๓ สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
มาตรา ๖๘
บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้
หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
มิได้
หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
มาตรา ๗๙
รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านานและศาสนาอื่น
ทั้งต้องส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา
รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
2.
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
มาตรา30
บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด
เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม
หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
จะกระทำมิได้มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น
ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง -
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องการศึกษาอบรมจะกระทำมิได้
มาตรา47
คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม
เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่งและกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมทั้งนี้
ตามที่กฎหมายบัญญัติการดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น
และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมใน
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง - องค์กรของรัฐที่มีหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่นในด้านการศึกษาและวัฒนธรรมด้วย
มาตรา 49
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก
ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่ง
และการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน
การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
1.ประชาชนได้เรียนฟรี
12 ปี (ป.1-ม.6)
2.การศึกษาทางเลือก
การเรียนรู้ด้วยตนเอง และตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมจากรัฐ
มาตรา50
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย
และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้
เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง - บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการศึกษาอบรมการเรียนการสอน
การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ
มาตรา 52
เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา
ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญเด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว
มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ
ให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม
ทั้งมีสิทธิได้รับการบำบัดฟื้นฟูในกรณีที่มีเหตุดังกล่าวการแทรกแซงและการจำกัดสิทธิของเด็ก
เยาวชน และบุคคลในครอบครัว จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่ง
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง - เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตา86 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา
และพลังงาน ดังต่อไปนี้
(1)
ส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านต่าง
ๆโดยจัดให้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อการนี้ จัดงบประมาณสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า
วิจัยและให้มีสถาบันการศึกษาและพัฒนา
จัดให้มีการใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ
และการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม
รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่
และสนับสนุนให้ประชาชนใช้หลักด้านวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต
(2)
ส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่
รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย
รวมทั้งให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
(3)
ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนา
และใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนซึ่งได้จากธรรมชาติและเป็นคุณต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
1.
รัฐต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านต่าง ๆ
โดยจัดให้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อการนี้
2.
รัฐต้องส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่
รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย
รวมทั้งให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
3.
รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนซึ่งได้จากธรรมชาติและเป็นคุณต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
มาตรา 87
รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังต่อไปนี้
(1)
ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
(2)
ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ
และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ
(3)
ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ
ในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพหรือตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย หรือรูปแบบอื
(4)
ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง
และจัดให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชนรวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
(5)
ส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรานี้ต้องคำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
- รัฐต้องส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา 289
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรม
และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่นนั้น
และเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ
โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับมาตรฐานและระบบการศึกษาของชาติการจัดการศึกษาอบรมภายในท้องถิ่นตามวรรคสอง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย
ประด็นที่เกี่ยวข้อง - อปท.ย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรมและเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ
ให้สอดคล้องกับมาตรฐานและระบบการศึกษาของชาติและต้องคำนึงถึงการบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณี
ภูมปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย
3.ประด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง
ยกตัวอย่าง
ตอบ
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่สำคัญมีหลายประเด็นดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 ได้รับความเห็นชอบจาก
การลงประชามติขอประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
2. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อ
24 สิงหาคม 2550
3. รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะองคมนตรีได้ไม่เกินกี่คน
19 คน
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ประชาชนเสนอให้มีการถอดถอนผู้ดำรง
5. ตำแหน่งระดับสูง
โดยต้องมีประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าเท่าใดเข้าชื่อร่วมกันสองหมื่นคน
6. การขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อเสนอญัตติไม่น้อยกว่า
เท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร 1 ใน 5
7. อำนาจพิจารณาพิพากษาข้าราชการการเมือง
ผู้ถูกกล่าวหาว่า
ร่ำรวยผิดปกติอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
8. ตามรัฐธรรมนูญ
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงราบการทรัพย์สินและหนี้สินของตนเอง ภริยา
แลกะบุตรทุกคน
9. การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะต้องยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
10. การขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อเสนอญัตติไม่น้อยกว่า
เท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร 1 ใน 5
11. ตามรัฐธรรมนูญไทยปัจจุบัน
พระราชกำหนดคือกฎหมายที่รัฐบาลสามารถประกาศใช้บังคับได้เองในทันที
12. แต่ต้องมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาในภายหลัง
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550
กำหนดให้องค์กรวุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง
กรณีมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริต
14. การมอบอำนาจของอธิบดีให้รองอธิบดีเรียกว่า
ปฏิบัติราชการแทน
เช่นเดียวกับกรณีของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มอบให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด
เรียกว่าปฏิบัติราชการแทน
15. ผู้มีอำนาจในการประกาศใช้และยกเลิกกฎอัยการศึกตามกฎหมายคือ
พระมหากษัตริย์
16. คำสั่งยุบพรรคการเมืองกระทำโดย
ศาลรัฐธรรมนูญ
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550
กำหนดให้องค์กรวุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง
กรณีมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริต
18. การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย
ใช้อำนาจปกครองประกอบด้วยหลักสำคัญ คือ การรวมอำนาจ การแบ่งอำนาจ
และการกระจายอำนาจ
19. ส่วนราชการที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม ที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็น กรม
20. ปัจจุบันประเทศไทยมีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง
20 กระทรวง
23. ส่วนราชการใดทีไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงหรือทบวง คือ ราชบัณฑิตยสถาน ,สำนักงานอัยการสูงสุด,สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
4. ทำไมเราต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ?
ตอบ
รัฐธรรมนูญเป็นเอกสารทางกฎหมายที่มีความสำคัญต่อการปกครองประเทศเป็นอย่างยิ่ง เป็นเสมือนคัมภีร์การปกครองของประเทศก็ว่าได้
รัฐธรรมนูญจะกำหนดกรอบภารกิจในเรื่องต่างๆที่เป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเพื่อเป็นหลักประกันให้กับทุกฝ่ายในเรื่องความชอบธรรมของการใช้อำนาจการได้รับความคุ้มครองสิทธิ
หน้าที่ต่างๆ และการที่เราจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมมนนูญเหตุผลก็คือ มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่รวมกลุ่มกันของมนุษย์ในสังคมทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ที่วางระเบียบ
และกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์เองตามสภาพบังคับของสังคมนั้นๆ ทั้งนี้ เมื่อสังคมต้องการระเบียบ กฎเกณฑ์
หรือ กฎหมาย ฉันใด ประเทศก็ย่อมต้องการ รัฐธรรมนูญ ฉันนั้นดังสุภาษิตกฎหมายที่ว่า
มีสังคมอยู่ที่ไหนมีกฎหมายอยู่ที่นั่น นั่นเอง รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
มีการกำหนดความสำคัญขององค์กรทางการเมืองระบุอำนาจหน้าที่เป็นหลักประกันคุ้มครองสิทธิเสรีภาพหน้าที่ของประชากรในรัฐ
อำนาจอธิปไตยการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมีหลักการสำคัญว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภาคณะรัฐมนตรีและศาล
ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศซึ่งประกอบด้วย อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร
และอำนาจตุลาการ
5. นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน
กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ตอบ
คิดว่ารัฐธรรมนูญสามารถที่จะแก้ไขได้
หากเป็นสิ่งที่สมควรก็ควรจะแก้ไขให้มันดีขึ้น เพื่อความเสมอภาคกันทุกฝ่าย
พูดได้ว่า เริ่มนับ 1 แล้วหลังจากที่รัฐสภามีมติรับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
2550 มาตรา 291 เพื่อให้มี ส.ส.ร.มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อย่างไรก็ดี
ยังมีเสียงวิจารณ์จากบางฝ่ายว่า ไม่ควรจะแก้
หรือถ้าแก้ก็ห้ามไปแตะเรื่องนั้นเรื่องนี้ เป็นต้น ทั้งนี้
สิ่งที่ฝ่ายที่คัดค้านไม่เคยตอบคือ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยหรือไม่ ทั้งในแง่ที่มา เนื้อหา และกระบวนการรับรอง ทั้งนี้
สิ่งที่ฝ่ายที่คัดค้านไม่เคยตอบคือ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยหรือไม่ ทั้งในแง่ที่มา เนื้อหา และกระบวนการรับรอง ประชาชนบางกลุ่มค้ดค้าน
เอาแต่โฆษณาป่าวร้องท่าเดียวว่า ไม่ควรจะแก้
เพราะชนกลุ่มนี้มีความเห็นที่แตกต่างกันทางความคิด หรืออาจเห็นคล้อยตามกัน
ตามการเมืองในหมู่ของชนชั้นนำทางการเมืองของพรรคที่ตนเห็นชอบด้วย
ความขัดแย้งทางความคิดว่าด้วยเรื่อง
กฎกติกาสูงสุดตามระบอบประชาธิปไตย มักจะโต้แย้งกันในหมู่ชนชั้นนำทางการเมือง
แต่ประชาชนในสังคมก็ยังโต้แย้งกันด้วย ฉะนั้น รัฐบาลในฐานะ "หัวหอก"
ในการริเริ่มการแก้ไข
ต้องชี้แจงเหตุผลให้สาธารณะได้เข้าใจร่วมกันการชี้แจงแต่เพียงว่ากระทำไปตามที่พรรคตนเองได้เคยหาเสียงเอาไว้นั้นคงจะไม่เพียงพอ
เพราะเราต้องการการยอมรับร่วมกันด้วยว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหา
ไม่เป็นไปตามหลักการที่ควรจะเป็นจริงๆ
ซึ่งเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้
สมควรจะต้องแก้ไขด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้
1.รัฐธรรมนูญ ในฐานะของปัจจัยหนึ่งในการแก้ไขความขัดแย้งในสังคม
รัฐธรรมนูญจะเป็นกลไกในการลดทอนความขัดแย้งในสังคมไทยได้ในระดับหนึ่ง
กล่าวอีกนัยหนึ่งแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ใช่ "ยาวิเศษ"
ที่เมื่อร่างหรือแก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้แล้วจะขจัดปัดเป่าความขัดแย้งในสังคมไทยที่มีอยู่มานานให้หมดไปได้ในทันที
หากแต่จะต้องไปพิจารณาและแก้ไขปัญหาทางด้านต่างๆ ประกอบด้วย เช่น การตรา
หรือแก้ไขกฎหมายลูกฉบับอื่นๆ การปรับปรุงโครงสร้างทางการศึกษา
แต่เราก็มิอาจที่จะปฏิเสธได้ว่า
รัฐธรรมนูญไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคมเลย ทั้งนี้
เห็นได้จากงานวิจัยจำนวนมากของต่างประเทศ หากพิจารณาเนื้อหาของรัฐธรรมนูญจะเห็นว่า
มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงโดยตรงกับการกำหนดโครงสร้างของสังคมผ่านมิติทางการเมืองการปกครองดังนั้น
การออกแบบรัฐธรรมนูญ (Constitutional Design) จึงมีความสำคัญยิ่ง
กล่าวคือ สังคมจะเป็นเช่นไร
จะมีความขัดแย้งมากหรือน้อยเท่าใด
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการวางโครงสร้างของสังคมผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญ พูดให้ชัดคือ
ปรากฏการณ์ที่สังคมไทยเกิดความขัดแย้งขึ้น ณ ขณะนี้ (และอาจกล่าวได้ว่า ที่ผ่านๆ
มาด้วย) อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
(และบางฉบับในอดีต) ที่ได้ผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญบนหลักการที่ผิดพลาด
2.การแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วงเวลานี้เหมาะสมและสามารถกระทำได้ที่ผ่านมา
หลายคนมักโต้แย้งว่า "ปัญหาปากท้องชาวบ้านสำคัญกว่า
แก้ไขไปแล้วชาวบ้านก็ไม่ได้อะไร" ดิฉันเห็นว่า ข้อโต้แย้งแบบนี้
"ง่ายเกินไป" เพราะปัญหาทางการเมืองตลอดช่วงที่ผ่านมา
เห็นได้ชัดว่าเกิดจาก "ความเหลื่อมล้ำทางการเมือง"
รวมถึงความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย
3.รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังคงมีปัญหาในเชิงหลักการว่าด้วยความเป็นรัฐธรรมนูญที่แท้จริง
ปัญหาในเชิงหลักการที่สำคัญมากประการหนึ่งสำหรับรัฐธรรมนูญไทย
(ทั้งฉบับปัจจุบันและฉบับก่อนๆ) ซึ่งไม่ค่อยที่จะมีการพูดถึงมากนักก็คือ
รัฐธรรมนูญขาดความชอบธรรมในการเป็นรัฐธรรมนูญ (Illegitimate
Constitution) อันส่งผลให้ไม่ได้รับการยอมรับนับถือ ปฏิบัติตาม
หวงแหน
ประเด็นดังกล่าวมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับการดำรงคงอยู่และความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญในสังคมด้วยหากกล่าวให้ถึงที่สุดก็คือ
แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะสถาปนากลไกที่ดีและมีประสิทธิภาพอย่างไรก็ตามที
แต่หากยังคงขาดความชอบธรรมอยู่
ท้ายที่สุดจะถูกผู้คนในสังคมปฏิเสธการบังคับใช้อยู่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น