วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค

 
ห้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)
 
1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ
ตอบ   รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองแผ่นดินหรือรัฐ หรือ กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ
พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ซึ่งมีเนื้อหาเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งเฉพาะเจาะจงต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่ง ซึ่งบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่รัฐได้ตราขึ้นไว้เป็นข้อบังคับกำหนดความประพฤติบุคคล ซึ่งตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติอันได้แก่ รัฐสภา พระราชบัญญัติจึงเป็นกฎหมายโดยแท
พระราชกำหนด หมายถึง กฎหมายรูปแบบหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญวางไว้ว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
พระราชกฤษฎีกา หมายถึง  บัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
เทศบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พศ. 2496
2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศปัจจุบันเป็นอย่างไร  ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ   ปัจจุบันประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญใช้บังคับและถือเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นับแต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นต้นมา รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรีและทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ สร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม แก้ไขข้อขัดแย้งในสังคม หากไม่มีรัฐธรรมนูญ บ้านเมืองคงเกิดความวุ่นวาย ไม่สงบสุข มีการเอารัดเอาเปรียบ แช่งดีชิงเด่น แย่งอำนาจ ใช้อำนาจในทางที่ผิด  และบุคคลจะทำสิ่งใดก็ทำตามอำเภอใจ ไม่นึกถึงคนอื่น คิดแต่ประโยชน์ส่วนตนกันเป็นส่วนมาก รัฐธรรมนูญจึงเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลยึดถือ และทำสิ่งที่ตั้งอยู่ในความถูกต้องตามกฏระเบียบ
3. ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ  การแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรานี้มีข้อโต้แย้งกันหลายฝ่าย ทั้งประชาชนและนักวิชาการที่ต้องการแก้ไขว่าด้วยเรื่อง องค์พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องในทางใดๆมิได้ ในความเห็นดิฉันไม่ควรแก้ไขเพราะว่าเป็นกฏหมายที่ป้องกันพระมหากษัตรย์ ขนาดมีมาตรา 112 นักการเมืองบางพรรคยังหมิ่นพระเจ้าอยู่หัวกันไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งประเด็นนี้เป็นข้อโต้แย้งกันหลายฝ่าย มีการต่อต้านไม่ต้องการให้แก้ไขเพราะคนไทยส่วนใหญ่เทิดทูน และรักพระมหากษัตริย์
4. กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง มองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดิน  แดน
ตอบ   คิดว่าปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ยิ่งเพราะเป็นปัญหาที่ต้องขึ้นศาลโลก เป็นเรื่องของผลประโยชน์ ทรัพย์สมบัติของชาติ ซึ่งแต่ละชาติก็อยากทวงสิทธิ์ของตนที่ควรจะได้ แต่ดินแดนแห่งนี้ ซึ่งเป็นบริเวณรอบปราสาทรพระวิหารในเขตพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ก็ยังตกลงเขตแดนที่แน่ชัดไม่ได้สักที และกัมพูชาต้องการจะเพลี่ยงพล้ำมาในเขตดินแดนไทย ในการที่จะให้ดินแดนนี้เป็นของไทย สามารถปกป้องและมีโอกาศที่จะได้มันโดยไม่เสียดินแดนนี้ไปมีสูง แต่ไทยต้องพยายามดำเนินการทวงสิทธิ์ไปตามขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป สู้จนถึงที่สุด ยกหาเหตุผลและหลักฐานทุกอย่างที่พิสูจน์ได้มาทวงสิทธิ์ อย่าได้ยอมแพ้เพื่อทรัพย์สมบัติของชาติ
5. พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วย กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
 ตอบ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะ พูดได้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่างขึ้นมาโดยใช้รัฐธรรมนูญการศึกษาซึ่ง เป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษาขึ้นมา  ประกาศใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่รัฐได้ตราขึ้นไว้เป็นข้อบังคับกำหนดความประพฤติบุคคลให้ทำในสิ่งที่ถูกต้องสมควร กฎระเบียบต่างๆ หากกระทำผิดก็จะได้พิจารณาไปตามกฎหมายเช่นเดียวกัน
6. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย  การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา
ตอบ   การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
                การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
                การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
                สถานศึกษา  หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
               สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
               มาตรฐานการศึกษา  หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา
               การประกันคุณภาพภายใน  หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
               การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก   โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
              ผู้สอน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
              ครู หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาของทั้งของรัฐและเอกชน
             คณาจารย์  หมายความว่า   บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
             ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
            ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
            บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
7. ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบ   ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษา คิดว่า ในการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขเป็นเป้าหมายของการจัดการศึกษาจึงอยู่ที่คนไทยโดยทั่วไป ซึ่งต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดี มีประโยชน์ มีความครบถ้วนทุกด้าน
หลักการจัดการในการจัดการศึกษา
 หลักสำคัญในการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (ตามมาตรา 8) กำหนดไว้ 3 ประการ คือการศึกษาตลอดชีวิต การมีส่วนร่วม และการพัฒนาต่อเนื่อง ดังนี้
 1.   การศึกษาตลอดชีวิต  เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน นั่นคือคนทุกคนต้องได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การศึกษานี้ต้องครอบคลุมทุกด้าน มิใช่เฉพาะชีวิตการงานเท่านั้น เพราะบุคคลต้องพัฒนาตนเองและความสามารถในการประกอบอาชีพของตน
 2.   การมีส่วนร่วม สังคมต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เช่น ร่วมเป็นกรรมการ ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษา ร่วมสนับสนุนทรัพยากร ร่วมติดตามประเมิน ส่งเสริมให้กำลังใจและปกป้องผู้ปฏิบัติงานที่มุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม
 3.   การพัฒนาต่อเนื่อง การจัดการศึกษาต้องให้ความสำคัญ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั้นมีทั้งการค้นคิดสาระและกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ การประยุกต์ปรับปรุงเนื้อหาสาระที่มีอยู่ และการติดตามเรียนรู้เนื้อหาสาระที่มีผู้ประดิษฐ์คิดค้น
8. มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำ กรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ มีวิธีการทำอย่างไร

ตอบ   ไม่ถือว่าทำผิดกฎหมาย แต่จะอยู่ในฐานะครูอัตราจ้างที่ได้ทำหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือเช่นเดียวกัน และยังคงให้ทำหน้าที่สอนหนังสือต่อไปโดยไม่ต้องลงโทษอะไร เพราะ ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ.ศ.2546 ได้กำหนดไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  1. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
  2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
  3. นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
  4. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
  5. ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
  6.   คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน  
 7. ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา   
 8. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนดซึ่งผู้ที่เข้าไปสอนอาจจะกระทำในกรณีใดกรณีหนึ่งซึ่งถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งก็ไม่ต้องแก้ไขอะไร แต่หากว่าอยากจะเข้าไปสอนในสถานศึกษาเป็นกรณีประจำก็ควรจะไปสอบบรรจุให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง

 9. หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
             ตอบ   1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2547
                       2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
                       3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
                       4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
10. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะ  และเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ  ในการเรียนวิชา กฎหมายการศึกษา เป็นประโยชน์มากต่อนักเรียนซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนผู้ซึ่งจะเป็นครูในอนาคต เพราะเป็นหลักสำคัญในหน้าที่ของครูที่จะต้องยึดปฏิบัติตาม และเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อและการสอบบรรจุต่างๆ ซึ่งสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวิชานี้คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และบทกฎหมายต่างๆที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นประชาชนและทางการศึกษา
 ในการใช้สื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Webblog มีความเหมาะมาก เพราะการเรียนรู้กี่ยวกับกฎหมายมีเนื้อหารายละเอียดมาก หากใช้หนังสือ แล้วให้นักเรียนอ่านเองในหนังสือ มันคงทำให้นักเรียนรู้สึกเบื่อ  หรือชีทถ่ายเอกสารให้นักเรียนอ่าน คงมีชีทเยอะมาก เห็นแล้วมันอาจจะทำนักเรียนคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ คงเกิดคำถามขึ้นในใจว่าทำไมมันยากจัง การใช้สื่อคอมพิวเตอร์ Webblog จึงทำให้นักเรียนรู้สึกเพลิดเพลินกับการเรียนรู้ ไม่เบื่อกับการเรียนการสอน มีอิสระในการเรียนและมีความสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นได้ พูดได้ว่าแป็นความคิดที่ดี และมีความทันสมัย ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และถ้าให้คะแนนตัวเองกับการเรียนวิชานี้ คิดว่า ควรได้เกรด เอ เพราะว่า ตั้งใจเรียนวิชานี้ ไม่ขาดเรียน และรีบทำงานที่ครูได้มอบหมายให้เสร็จโดยเร็วด้วยตนเอง ด้วยความพยายาม และความรับผิดชอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น