วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาคเรียน

คำชี้แจง

ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)

1. กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ   กฎหมาย หมายถึง คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัตผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ
การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ หมายความว่า ในการบังคับใช้กฎหมาย จะต้องมีความเสมอภาคต่อบุคล โดยไม่คำนึงถึง คุณสมบัติอื่น เช่น เชื้อชาติ ศาสนา ฐานะ ถิ่นกำเนิด ทุกคนมีสิทธิและหน้าที่ในทางกฎหมายเช่นเเดียวกันกับคนอื่นๆ เพื่อเป็นหลีกเลี่ยงการแบ่งแยกอย่างไม่เป็นธรรม และเป็นหลักประกันมิให้รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจ โดยการปฏิบัติตามหลักความเสมอภาคนั้นจะต้องปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

2. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอ
                ตอบ  เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะ ใบประกอบวิชาชีพจะบ่งบอกถึงศักยภาพ ของบุคคลและในด้านความรู้ ความสามารถในวิชาสาขาของตนเอง และจะเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ และเป้นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น

3. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง

ตอบ  แนวทางในการการระดมทุนและทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่น คือต้องมีระบบการคิดที่มีกระบวนการวางแผนที่รอบคอบ มีระบบการบริหารจัดการที่มีความรับผิดชอบ และมีความต่อเนื่อง ดังนั้นจึงซึ่งต้องมีและมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. กรณีของการระดมทรัพยากร จะต้องพิจารณว่า ต้องการจะระดมทรัพยากรในเรื่องใด เพราะเหตุใด
2. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ต้องมี ความมุ่งมั่นอุทิศตนเพื่อความเจริญก้าวหน้าของสถานศึกษา การมีมนุษยสัมพันธ์สูง ทักษะการสื่อสารดี มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความสามารถในการจูงใจหรือดึงดูดความสนใจให้เกิดการมีส่วนร่วม
3. แหล่งทรัพยากรสนับสนุนการมีข้อมูลแหล่งทรัพยากรที่ดี นำไปสู่การวางแผนระดมทุนแบบต่อเนื่องและสะดวก
4. เป้าหมายเชิงปริมาณและคุณภาพ ต้องกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณและคุณภาพที่คาดหวังนั้น ๆ ให้มีความชัดเจน
5. ระบบการทำงานต้องจัดทีมทำงานและมีกระบวนการบริหารที่ดี ตั้งแต่การวางแผนตลอดแนว การจัดโครงสร้างการปฏิบัติงานที่มีฝ่ายสนับสนุนต่าง ๆ

6. การประชาสัมพันธ์ ต้องมีการประชาสัมพันธ์ที่ดี มีวิธีการที่เหมาะสม จะช่วยให้การระดมทรัพยากรประเภทนั้นๆ ได้รับการสนับสนุน
7. งบประมาณต้องจัดงบประมาณให้กับการดำเนินงานอย่างเหมาะสมจะนำไปสู่การบรรลุความสำเร็จของการระดมทรัพยากรได้
8. ความมีประสิทธิภาพ ความมีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใส ช่วยใหเเกิดการเพิ่มยอดปริมาณการสนับสนุน
ตัวอย่างเช่น โรงเรียนแห่งหนึ่งมีการระดมทุนการศึกษา เพื่อช่วยเหลือนักเรียนขาดแคลนคุณทรัพย์ ซึ่งเป็นเด็กตกทุกได้ยาก ลำบาก ลำดับแรกต้องหาผู้นำโครงการเหล่านี้ เช่นถ้าเป็นผู้บริหารก็ต้อง เป็นผู้ที่ดี ทุ่มเทช่วยเหลือจริงจังกับและสามารถเป็นที่ดึงการจูงใจให้ประชาชนและคนอื่นๆมีส่วนร่วมในการบริจาค จากนั้นต้องกำหนดเป้าหมายของงาน ว่าให้เป็นไปในรูปแบบใด รวมถึงการจัดสรรค์งบประมาณที่ต้องใช้ให้เหมาะสม อีกทั้ง ต้องแบ่งหน้าที่กันดำเนินงาน มีผู้ประชาสัมพันธ์ และกระจายข่าวให้มากที่สุดเพื่อให้เกิดให้ประชาชนรับรู้โดยทั่วกันและยินดีบริจาคเงิน มากไปกว่านั้น ต้องกำหนดประสิทธิภาพ ของงานว่าเกิดผลสำเร็จแค่ไหน เพื่อจะได้นำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป และเพื่อให้สามารถตรวจสอบความโปร่งใส เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและได้มีการสนับสนุนที่ยั่งยืน

4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ  รูปแบบการจัดการศึกษาของไทย ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กำหนดนั้นแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษา คือ การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา,การศึกษาระดับประถมศึกษาและ การศึกษาระดับมัธยมศึกษา
2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วยเ การศึกษาหลังระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ   แตกต่างกัน คือ การศึกษาภาคบังคับ เป็นการศึกษาที่มีกฎหมายบังคับให้ทุกคนเรียนอยู่ในโรงเรียนจนกว่าจะพ้นเกณฑ์ ซึ่งกำหนดตามอายุ หรือระดับการศึกษาที่ได้แสดงไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่ง ตามที่กำหนดไว้ 9 ปี ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอน เช่น เด็กคนนึงจำเป็นต้องได้รับการศึกษาเรียนรู้ในโรงเรียนอย่างน้อย ระดับชั้น ม. 3 ส่วน การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาในระดับประถมศึกษา (6ปี) ระดับมัธยมต้นและมัธยมปลาย (6 ปี) รวมเป็นเวลา 12 ปีส่วนการศึกษาภาคบังคับ มุ่งให้มีการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน เช่น ทักษะความรู้ทั่วไป ทักษะเพื่อการดำรงชีวิต สำหรับเยาวชนและผู้ใหญ่
            ตัวอย่าง เช่น ถ้าเด็กคนนึงจบ ระดับ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว (ม.3) บุคคลสามารถเลือกได้ระหว่างศึกษาต่อสายสามัญในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเลือกศึกษาสายวิชาชีพ หรืออาจเลือกศึกษาต่อในสถาบันทางทหารหรือตำรวจ

6. การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่า
ตอบ  การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
(๑) สำนักงานรัฐมนตรี
(๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
(๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

7. จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546

ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อ
๑. พัฒนาวิชาชีพครูตามมาตรา ๘๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา ๙(๔) แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

๒. เพื่อปรับสภาในกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช ๒๔๘๘ เป็นองค์กรวิชาชีพครูตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และให้เป็นไปตามมาตรา ๗๓ โดยกำหนดให้มี

       ๒.๑ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกชื่อว่า คุรุสภามีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการพัฒนาวิชาชีพ

      ๒.๒ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ ความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวงการศึกษา
๓. เพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป

8. ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ   ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ จะมีความเป็นตาม พรบ. เพราะ เป็นการปฏิบัติขัดต่อสิ่งที่ พรบ. ได้บัญญัติไว้ พฤติกรรมการมาสอนเป็นครั้งคราว แสดงถึงความไม่รับผิดชอบ และละเลยหน้าที่ ไม่เหมาะต่อการทำหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความรู้ เพราะจะทำให้ผู้เรียน ขาดความเคารพและลดความน่าเชื่อถือลงได้

9. ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
 ตอบ  โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย จักต้องได้รับโทษทางวินัยเว้น และ โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ (1) ภาคทัณฑ์ 2.) ตัดเงินเดือน 3.) ลดขั้นเงินเดือน 4. ) ปลดออก 5. ) ไล่ออก

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ   เด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
เด็กเร่ร่อน หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่างๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
เด็กกำพร้า  หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้

เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก  หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด  หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทารุณกรรม  หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
เด็กเหล่านี้  เป็นเด็กที่ด้อยโอกาส มีปัญหาหรือเสี่ยงต่อการกระทำผิดและถูกกระทำที่ไมเป็นทำ พรบ. ฉบับบนี้ จะเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ ทั้งในการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก ไม่เหมาะสมกับ สภาพสังคมปัจจุบัน สมควรกำหนดขั้นตอนและปรับปรุงวิธีการปฏิบัติต่อเด็กให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และมีพัฒนาการที่เหมาะสม อันเป็นการ ส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันครอบครัว รวมทั้งป้องกันมิให้เด็กถูกทารุณกรรม ตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หรือถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และสมควร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น